อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลมุก
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๕๐ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(๗) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
(๙) หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา ๕๑ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(๙) เทศพาณิชย์
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๑๖ใหเทศบาล เมืองพัทยา และองคการบริหารสวนตําบลมีอํานาจและหนาที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชนของประชาชนในทองถิ่นของตนเองดังนี้
(๑) การจัดทําแผนพัฒนาทองถิ่นของตนเอง
(๒) การจัดใหมีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(๓) การจัดใหมีและควบคุมตลาด ทาเทียบเรือ ทาขาม และที่จอดรถ
(๔) การสาธารณูปโภคและการกอสรางอื่นๆ
(๕) การสาธารณูปการ
(๖) การสงเสริม การฝกและประกอบอาชีพ
(๗) การพาณิชยและการสงเสริมการลงทุน
(๘) การสงเสริมการทองเที่ยว
(๙) การจัดการศึกษา
(๑๐) การสังคมสงเคราะหและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผูดอยโอกาส
(๑๑)การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปญญาทองถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของทองถิ่น
(๑๒) การปรับปรุงแหลงชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยูอาศัย
(๑๓) การจัดใหมีและบํารุงรักษาสถานที่พักผอนหยอนใจ
(๑๔) การสงเสริมกีฬา
(๑๕)การสงเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(๑๖) สงเสริมการมีสวนรวมของราษฎรในการพัฒนาทองถิ่น
(๑๗) การรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง
(๑๘) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๒๐) การจัดใหมีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๒๑) การควบคุมการเลี้ยงสัตว
(๒๒) การจัดใหมีและควบคุมการฆาสัตว
(๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเปนระเบียบเรียบรอย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
(๒๔)การจัดการ การบํารุงรักษา และการใชประโยชนจากปาไมที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
(๒๕) การผังเมือง
(๒๖) การขนสงและการวิศวกรรมจราจร
(๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๒๘) การควบคุมอาคาร
(๒๙) การปองกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓๐) การรักษาความสงบเรียบรอย การสงเสริมและสนับสนุนการปองกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน
(๓๑) กิจการอื่นใดที่เปนผลประโยชนของประชาชนในทองถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
|